รหัสพรรณไม้ 7-30340-002-035/6

 
  ชื่อพื้นเมือง ประดู่แดง,วาสุเทพ
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Phyllocarpus septentrionalis Donn.Sm.
  ชื่อวงศ์ LEGUMINOSAE-CAESALPINIOIDEAE
  ลักษณะวิสัย ไม้ต้น
  ลักษณะเด่นของพืช ใบประกอบแบบขนนก ดอกช่อสีแดงอมส้ม
  บริเวณที่พบในโรงเรียน สวนพฤกษศาสตร์
   
คลิกขยาย
ดับเบิลคลิกกลับสู่สภาพเดิม
         
ลำต้น
ใบ
ดอก
ผล
อื่น ๆ
 
         
รายละเอียดอื่น ๆ เพิ่มเติม

ลักษณะทั่วไป: ไม้ต้นขนาดกลาง สูง 10 -20 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดรูปทรงไม่แน่นอน แตกกิ่งก้าน ปลายกิ่งล่ลงดิน

ใบ: ใบประกอบแบบขนนก ปลายคู่ เรียงสลับ แผ่นใบทั้ง 2 ข้างมีขนาดไม่เท่ากัน

ดอก: ออกดอกเป็นช่อประจุกขนาดใหญ่ตามกิ่ง 3 - 5 ดอก สีแดงอมส้ม ขณะออกดอกใบมักจะร่วงหมด ดอก ออก ม.ค - ก.พ

ผล: ผลเป็นฝักแบน รูปขอบขนานและโค้งเล็กน้อย

ด้านภูมิทัศน์: ให้ร่มเงา สวยงาม และเป็นไม้ประจำสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

คนไทยโบราณเชื่อว่า: บ้านใดปลูกต้นประดู่ไว้ประจำบ้านจะทำให้เกิดพลังแห่งความยิ่งใหญ่ ประดู่ คือ ความพร้อมความร่วมมือ ร่วมใจสามัคคี มีพลังเป็นอันหนึ่งอีนเดี่ยวกัน นอกจากนี้ดอกประดู่ยังมีลักษณะที่ระดมกันบานเมต้นดูลายตา ดังนั้นคนโบราณจึงได้เลือกเอาต้นประดู่เป็นไม้ประจำกองทัพเรือ และส่วนแก่นไม้ยังใช้เป็นศิลปะการดนตรี ที่คำคัญของคนไทยพื้นเมืองในสมัยโบราณ คือ ใช้ทำเป็นเครื่องเสียงพวกระนาด นั่นก็หมายถึง ความแข็งแกร่ง แข็งแรง


ข้อมูลจาก : http://www.saunmitpranee.com/catalog.php?category=59